King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT)

 

 

   

1 | 2

Previous Next

ขอแสดงความยินดีกับ ดร.เยี่ยมพล นัครามนตรี ได้รับทุนสนับสนุนจากการยางแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2565

?ขอแสดงความยินดีกับ?

??ดร.เยี่ยมพล นัครามนตรี

?ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์

?ได้รับทุนสนับสนุนจากการยางแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2565

โครงการการชะลอการเกิดเชื้อราในยางธรรมชาติแผ่นดิบโดยใช้สังกะสีออกไซด์ดัดแปร

Previous Next

นักวิจัย มจธ. แบไต๋กลไกของการใช้ขยะมา “Upgrade” ขยะ เพื่อสร้างแหล่งพลังงานจากธรรมชาติ

หลายคนที่สงสัยกับคำว่า ขยะ Upgrade ขยะ คืออะไร ? กลุ่มวิจัย SPICE (Sustainable Polymer & Innovative Composite Materials Research Group) มีคำตอบ!!! ??‍??‍?
-------------------------------------------------------------------
สำหรับผลงานนี้อะตอมได้รับเกียรติสัมภาษณ์โดยตรงกับหนึ่งในหัวหน้าทีมวิจัย ดร.ศาสตราวุธ ตุลาผล อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจารย์เล่าให้ฟังว่า ขยะจากการเกษตรบางชนิดมีอยู่เป็นจำนวนมากและจะถูกกำจัดด้วยวิธี “การเผาทำลาย” ซึ่งมันส่งผลกระทบร้ายแรงอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ อาทิเช่น ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 ในอากาศ เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ส่งผลระยะยาวทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในอนาคต ซึ่งตัวอย่างขยะจากธรรมชาติกล่าวมาข้างต้น นั่นก็คือ “ฟางข้าว” ????
-------------------------------------------------------------------
Q: งั้นแปลว่า เราจะต้องหาทางกำจัดฟางข้าวโดยที่ไม่เผาทำลายใช่ไหมครับ?
A: ใช่แล้วครับ ด้วยเหตุนี้นักวิจัยหลายท่านจึงพยายามนำฟางข้าวกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดโดยไม่ใช้วิธีการเผาทำลาย เนื่องจากฟางข้าวจัดเป็นชีวมวล หรือ มวลชีวภาพ (Biomass) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่กักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงานได้ ดังนั้นการจะดึงพลังงานในธรรมชาติจากฟางข้าวออกมาจำเป็นต้องดึง “น้ำตาลกลูโคส (Glucose)” ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่พบได้มากที่สุดจากเซลลูโลส (Cellulose) ที่อยู่ในฟางข้าวออกมา หลายท่านคงทราบกันดีถึงประโยชน์ของน้ำตาลกลูโคสในร่างกายของมนุษย์ แต่นอกจากนั้นกลูโคสยังถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านพลังงานได้อีกด้วย เช่น นำมาใช้เป็นสารเติมแต่งของน้ำมันเชื้อเพลิง ใช้ผลิตเส้นใยพลาสติกชีวภาพ หรือแม้แต่การนำมาผลิตเป็นเส้นใยสำหรับเสื้อผ้าต่าง ๆ เป็นต้น ???⛽️???
-------------------------------------------------------------------
Q: ฟังดูเหมือนจะไม่ยากอะไรใช่ไหมครับ? กับการผลิตน้ำตาลจากฟางข้าว
A: จุดสำคัญมันอยู่ตรงกระบวนการผลิตน้ำตาลกลูโคสด้วย “วิธี Hydrolysis แบบธรรมชาติ” คือ การใช้เอมไซม์ Cellulase ไปย่อยเซลลูโลสที่เป็นโมเลกุลใหญ่ให้เกิดการสลายพันธะแล้วกลายเป็นโมเลกุลเล็กที่เป็นกลูโคสออกมาทดแทนการใช้วิธีการทางเคมี แต่ปัญหามันอยู่ที่โครงสร้างของชีวมวลก็มีระบบป้องกันตัวเองจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจะดึงเอาน้ำตาลกลูโคสออกมาจึงต้องทำลายระบบป้องกันนี้เสียก่อน “ลิกนิน (Lignin)” ซึ่งจัดว่าเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติเชิงซ้อนทำหน้าที่เป็นกำแพงที่ป้องกันการย่อยของเอมไซม์ ดังนั้นการทลายกำแพงลิกนิน คือ ต้องมีการปรับสภาพ (Pretreatment) ของเซลลูโลสโดยการใช้สารที่ชื่อว่า DES (Deep Eutectic Solvents) เพื่อกำจัดลิกนินออกไปแล้วทำให้เอมไซม์สามารถย่อยได้ง่ายขึ้น ?‍???? ?‍?
-------------------------------------------------------------------
Q: แล้วมันเกี่ยวข้องอะไรการ Upgrade ฟางข้าวที่เป็นขยะหรอครับ?
A: นี่แหละคือสิ่งที่เราพยายามอยากนำเสนอออกมาในงานวิจัยนี้ ตัวสาร DES ที่บอกไปข้างต้นเกิดจากส่วนผสมหลัก 2 อย่าง ได้แก่ กลีเซอรอล และ คลอรีนคลอไรด์ ซึ่งตัวกลีเซอรอล คือ ขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช หรือน้ำมันที่เหลือทิ้งจากครัวเรือน นั่นแปลว่าในอนาคตเราสามารถนำขยะเหล่านี้มาสกัดกลีเซอรอลแล้วนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิต DES เพื่อปรับสภาพชีวมวล และผลิตน้ำตาลกลูโคสจากฟางข้าวอีกที ?????⛽️?
-------------------------------------------------------------------
Q: โอ้วโหวววววว นี่มันขยะจากไบโอดีเซล แล้วเอาไปปรับปรุงขยะจากพืชอีกที!!!! ยังมีต่ออีกไหมครับ?
A: มีแน่นอนครับ เพราะอีกประเด็นสำคัญมันอยู่หลังจากนี้ จากกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ตัวชี้วัดที่บ่งบอกปริมาณการผลิตน้ำตาลกลูโคส คือ ร้อยละการย่อยสลายของเซลลูโลสด้วยเอนไซม์ในชีวมวล ที่เรียกว่า Glucan digestibility โดยทั่วไปแล้วชีวมวลที่ไม่ถูกปรับสภาพจะมีค่า Glucan digestibility ประมาณ 10-20 % งานวิจัยพบว่าการใช้สาร DES ในการปรับสภาพชีวมวลนั้นสามารถเพิ่มค่า Glucan digestibility ได้ถึง 7 เท่า นอกจากสาร DES สามารถช่วยกำจัดลิกนินออกไปได้แล้ว ยังคงรักษาปริมาณเซลลูโลสในชีวมวลไว้ได้มาก ซึ่งมีผลอย่างมากต่อปริมาณน้ำตาลกลูโคสในกระบวนการผลิต
.
“งานวิจัยนี้ได้ค้นพบว่าสาร DES ที่ใช้กลับมาดูดซับบนพื้นผิวของชีวมวล เป็นกำแพงในการย่อยสลายเซลลูโลสของเอมไซม์ ซึ่งเป็นประเด็นที่งานวิจัยส่วนใหญ่มองข้ามไป”
.
และงานวิจัยนี้ยังได้เสนอวิธีแก้ไขที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดในกระบวนการ คือ การล้างสาร DES ที่ดูดซับบนชีวมวลด้วยสารในกลุ่มเบส เช่น โซเดียมคาร์บอเนต ซึ่งสามารถเพิ่มค่า Glucan digestibility จาก 68 % ถึง 87% คิดเป็น 1.3 เท่า อีกทั้งยังสามารถลดปริมาณเอนไซม์ที่ใช้ เป็นการลดต้นทุนในการผลิตน้ำตาลกลูโคสจากชีวมวลอีกด้วย ??????
-------------------------------------------------------------------
สุดยอดดดดดด!!! อะตอมต้องขอบอกเลยว่างานวิจัยนี้เกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยที่ไปไกลถึงประเทศแคนนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มวิจัย SPICE มจธ. ห้องปฏิบัติการวิจัย Advanced Renewable Materials (ARM) จาก University of Louisville, Forest Products Laboratory และ Southern Illinois University Edwardsville ประเทศสหรัฐอเมริกา และ University of British Columbia ประเทศแคนนาดา นอกจากนี้ทางทีมวิจัยยังได้ฝากเชิญชวนทุกท่านเข้ามาติดตามผลงานวิจัยกันแบบ Exclusive ได้ที่ Advanced Renewable Materials -ARM Lab คลิก: ?? https://www.facebook.com/Advanced-Renewable-Materials-ARM-Lab-113163564198520
-------------------------------------------------------------------
ซึ่งผลงานชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Industrial Crops & Products ปี 2021 (Q1: Impact factor = 4.244) ในชื่อผลงาน “Effects of polyol-based deep eutectic solvents on the efficiency of rice straw enzymatic hydrolysis” ???
.
Previous Next

ทีมวิจัย มจธ. คิดค้น “แผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์”

 

ถ้ากินยาไม่ได้ ฉีดยาโดยตรงก็มีข้อจำกัด แล้วผู้ป่วยจะรับยาเข้าร่างกายได้อย่างไร ? ผลงานสุดเจ๋งของทีมวิจัย มจธ. คิดค้น “แผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์” !!!!  ????

-----------------------------------------------------------------------

ใช่แล้วครับทุกท่าน อีกหนึ่งผลงานประจำสัปดาห์นี้กับกลุ่มวิจัย SPICE (Sustainable Polymer & Innovative Composite Materials Research Group) คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. ในเมื่อวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าเร็วเท่าไร องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยิ่งต้องพัฒนาให้ก้าวเร็วกว่าเท่านั้น!!! เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ช่วยลดขีดจำกัดของรักษาผู้ป่วย และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างยั่งยืน ?‍???

-----------------------------------------------------------------------

แขกรับเชิญประจำบทความนี้ อะตอมได้รับเกียรติสัมภาษณ์โดยตรงกับ ผศ. ดร.นพวรรณ ปาระดี อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และหนึ่งในนักวิจัยจากกลุ่มวิจัย SPICE ซึ่งเป็นผู้คิดค้นแผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์ ร่วมกับทีมวิจัยจากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ?‍?

-----------------------------------------------------------------------

อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ไอเดียของงานนี้มาจากเทคโนโลยีการทำไอออนโตโฟรีซิส (Iontophoresis) ที่นิยมใช้ในคลินิกเสริมความงามที่เป็นกระบวนการผลักสารบำรุงผิวหน้าผ่านผิวหนังโดยอาศัยความต่างศักย์ไฟฟ้า ในเมื่อเทคโนโลยีนี้ใช้กับความงามได้ ทำไมเราจะประยุกต์มาใช้กับการนำส่งยารักษาผู้ป่วยไม่ได้ละ? ???‍?

-----------------------------------------------------------------------

Q: อาจารย์ครับ ทำไมเราต้องส่งยาผ่านทางผิวหนังละครับ ในเมื่อการกิน หรือ ฉีด น่าจะง่ายกว่าไม่ใช่หรือครับ?

A: ใช่ค่ะ การกินยาง่ายกว่าแน่นอน แต่ถ้ามีผู้ป่วยที่กินไม่ได้ละ จะทำอย่างไร? จากการค้นคว้าหาข้อมูลทีมวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีภาวะอาเจียนง่าย หรือไม่สามารถรับยาผ่านทางการกินได้ หรือถ้ากินยาได้ตัวยาอาจถูกลดทอนปริมาณ (Dosage) ของยาลงในขณะที่ผ่านกระเพาะอาหาร ส่งผลต่อการควบคุมและบริหารจัดการปริมาณยาให้เหมาะสมกับอาการของโรคเป็นไปได้ยากมาก ในกรณีของการฉีดยาเองก็มีข้อจำกัด เนื่องจากการฉีดยาจะต้องใช้พยาบาลหรือผู้ชำนาญเฉพาะทางในการฉีดยาเท่านั้น อีกทั้งการฉีดยาจะทำให้ความเข้มข้นของปริมาณยาสูงมากในหลอดเลือดตรงบริเวณที่ฉีดก่อนที่ปริมาณยาจะลดลงในเวลาต่อมาซึ่งก็ทำให้ยากต่อการควบคุมปริมาณยาเช่นกัน ???

-----------------------------------------------------------------------

Q: แล้วแผ่นแปะนำส่งยาที่ทีมวิจัยคิดค้นขึ้นมา มีกระบวนการสร้างและหลักการทำงานยังไงครับ?

A: ในการคิดค้นแผ่นแปะนำส่งยาของงานวิจัยนี้ เราใช้ยา Diclofenac Sodium Salt ซึ่งเป็นยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยการนำตัวยาไปผสมกับพอลิเมอร์ชีวภาพ (Biopolymer) ได้แก่ Dextran ซึ่งเป็นโพลีแซกคาไรด์ที่พบในยีสต์และแบคทีเรีย และพอลิเมอร์นำไฟฟ้า (Conductive Polymer) ที่ชื่อว่า Poly(2-Ethylaniline) ในรูปแบบของไฮโดรเจล (Hydrogels) ซึ่งปลอดภัยและไม่เป็นพิษต่อร่างกาย จากนั้นนำแผ่นยาไฮโดรเจลมาติดบนแผ่นรองรับเพื่อสร้างเป็นแผ่นแปะนำส่งยาที่มีลักษณะคล้ายกับแผ่นพลาสเตอร์ปิดแผลทั่วไปซึ่งจะทำงานร่วมกับอุปกรณ์จ่ายสนามไฟฟ้า ในการใช้งานเพียงแค่นำแผ่นแปะนำส่งยาไปติดลงบนผิวหนังตรงบริเวณที่ต้องการจะส่งยาเข้าไปในร่างกายแล้วทำการจ่ายสนามไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นตัวยาให้ถูกพลักลงสู่ชั้นใต้ผิวหนัง ??‍???

-----------------------------------------------------------------------

โอ้วโหวว!!!! แบบนี้เท่ากับว่าผู้ป่วยจะได้รับยารักษาที่ตรงจุดและสามารถควบคุมปริมาณของยาได้ตามต้องการ โดยที่ปริมาณของยาจะไม่ถูกลดทอนจากการกิน อีกทั้งวิธีการนี้ยังง่ายและสะดวกอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้านซึ่งต่างจากการฉีดยาที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องเดินทางไปรับยาการฉีดยาที่โรงพยาบาลหรือใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการฉีดยาเท่านั้น สุดยอดไปเลยครับทีมวิจัยนี้!!! ???

-----------------------------------------------------------------------

ท่านผู้อ่านทุกท่านทราบไหมครับว่า นี่คือหนึ่งในผลงานวิจัยฉบับปฐมบทของเทคโนโลยีการนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์กันเลยทีเดียว สืบเนื่องจากทีมวิจัย SPICE ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการศึกษากลุ่มของพอลิเมอร์นำไฟฟ้า และพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดต่างๆ ที่มีผลกับการนำส่งยาแต่ละชนิดนอกเหนือจาก Diclofenac Sodium Salt ที่กล่าวไปข้างต้น ?‍???‍?

.

ซึ่งอาจารย์นพวรรณ ยังได้บอกอีกว่า พวกเราจะได้เห็นภาคต่อของงานวิจัยแผ่นแปะนำส่งยานี้อย่างแน่นอน ซึ่งอะตอมแอบดีใจว่าในอนาคตอันใกล้เราอาจจะได้ใช้แผ่นแปะนำส่งยาแผ่นแรกของประเทศที่คิดคิดโดยคนไทยในฉบับปัจฉิมบทของเทคโนโลยีการนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์!!! ?

-----------------------------------------------------------------------

ผลงานชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Materials Science & Engineering C ปี 2021 (Q1: Impact factor = 5.880) ในชื่อผลงาน “Conductive Poly(2-ethylaniline) Dextran-Based Hydrogels for Electrically Controlled Diclofenac Release” ???

.

Publication URL: ???https://www.sciencedirect.com/.../abs/pii/S0928493120332641

#FSciResearchInnovation #KMUTT

Previous Next

ทีมวิจัย มจธ. คิดค้นวิธีการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคตับและไต หรือ โรคหัวใจ จากปัสสาวะ และซีรั่ม ได้ ภายใน 15 นาที!! ???

งานนี้อะตอมได้ไปสัมภาษณ์ผลงานวิจัยแบบข้าม Time Zone กันเลยทีเดียวกับกลุ่มวิจัย OSEN (Organic Synthesis, Electrochemistry and Natural Product) นำทีมวิจัยโดย ผศ. ดร.วิจิตรา เดือนฉาย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งอะตอมได้มีโอกาสสัมภาษณ์โดยตรงกับ นายกวิน ขจรศักดิ์กุล นักศึกษาปริญญาเอกเจ้าของผลงานซึ่งได้ให้สัมภาษณ์ในขณะที่ทำวิจัยระยะสั้นอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ต้องขอบอกก่อนเลยว่า เรื่องราวต่อจากนี้ไม่ธรรมดาแน่นอนครับ ?‍??‍?
------------------------------------------------------------------
น้องกวินเล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยโรคต่าง ๆ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การตรวจเจอสิ่งผิดปกติในร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีในปัจจุบันจะทำได้ นั่นแปลว่าถ้าเรารู้ถึงความผิดปกติเหล่านั้นได้เร็วเท่าไร เราจะสามารถลดความรุนแรงของโรคและทำการรักษาโรคต่าง ๆ ได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น!!!
------------------------------------------------------------------
ด้วยเหตุนี้ทีมวิจัยจึง “คิดค้นวิธีการตรวจสารตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) ที่มีชื่อว่า Bilirubin (BR)” ซึ่งเป็นสารบ่งชี้ทางชีวภาพที่มีอยู่ในร่างกายของมนุษย์ โดยปกติเราจะมีเกณฑ์ของปริมาณ BR อยู่ที่ 5 – 20 uM ในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ จะสามารถประเมินได้จากการเปลี่ยนแปลงปริมาณของ BR ในร่างกาย ตัวอย่างเช่น ถ้าตรวจปริมาณ BR ในร่างกายแล้วพบปริมาณ BR มากกว่าเกณฑ์ก็จะเกิดความเสี่ยงต่อโรคตับแข็ง ปอดติดเชื้อ มะเร็ง หรือ โรคทางสมอง และในกรณีที่ตรวจพบปริมาณ BR ต่ำกว่าเกณฑ์ ก็จะมีความเสี่ยงต่อโรคขาดธาตุเหล็ก หรือ โรคหัวใจ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรายงานทางการแพทย์ออกมาว่า “จะต้องไม่พบปริมาณ BR เจือปนในตัวอย่างของปัสสาวะของมนุษย์” หากมีการตรวจพบปริมาณ BR ในปัสสาวะของคนไข้จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับและโรคไตได้????
------------------------------------------------------------------
ปัจจุบันการตรวจวัดปริมาณ BR จากตัวอย่างเลือดในโรงพยาบาลจะใช้เครื่องมือวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางแสงที่มีข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่าย ระยะเวลาในการตรวจวัด และปริมาณ BR ต่ำสุดที่สามารถตรวจวัดได้ (Limit of Detection หรือ LOD) ซึ่งเทคนิคทางแสงจะมี LOD อยู่ในช่วงประมาณ 0.4 – 20 uM ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้ในการตรวจวัด และอีกกรณีหนึ่ง คือ การตรวจวัดปริมาณ BR จากตัวอย่างปัสสาวะด้วยชุดทดสอบแบบรวดเร็ว (Rapid Test Kit) โดยการสังเกตการเปลี่ยนสีของแผ่นกระดาษไปตามเฉดสีต่าง ๆ ตามความเข้มข้นของ BR ซึ่งมีข้อจำกัดในการอ่านผลการตรวจวัดที่อาจจะเกิดการคลาดเคลื่อนของแถบสีได้ อีกทั้งค่า LOD จะอยู่ที่ 2 uM เท่านั้น
------------------------------------------------------------------
จากขีดความสามารถของเทคโนโลยีที่กล่าวมาทั้งหมด ทีมวิจัยได้พลิกโฉมการตรวจวัดปริมาณ BR จากตัวอย่างปัสสาวะ โดยสร้างชุดทดสอบที่ดูการเปลี่ยนแปลงระยะทางของแถบสีบนแผ่นกระดาษ!!!! ภายในเวลา 15 นาที ซึ่งสามารถทลายขีดความสามารถของ LOD ลงไปต่ำถึงระดับ 0.8 pM (0.8x10-12 M) โดยที่สามารถตรวจคัดกรองภาวะความผิดปกติของโรคตับและไตหรือภาวะขาดธาตุเหล็กหรือโรคหัวใจได้เบื้องต้นด้วยตัวเองที่บ้านจากตัวอย่างปัสสาวะ โอ้วโหวววมาฟังแนวคิดและหลักการจากน้องกวินกันเลยครับ!!!! ???
------------------------------------------------------------------
ไอเดียของงานก็ คือ ในเมื่อชุดตรวจทั่วไปดูการเปลี่ยนเฉดสีที่หลากหลายได้ยาก อีกทั้งค่า LOD ก็ยังไม่ต่ำมากพอสำหรับการคัดกรองโรคที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ดังนั้นทีมวิจัยจึงนำสารที่สามารถทำปฏิกิริยา (Reagent) นั่นก็คือ 5CB (4′-Pentyl-4-Biphenylcarbonitrile Liquid Crystal) นำมาคำนวณสัดส่วนและปริมาณที่จะเคลือบลงบนแผ่นกระดาษสำหรับใช้ในการทำปฏิกิริยากับ BR ผ่านระบบเอนไซม์หลังจากที่เคลือบ 5CB ลงบนกระดาษ สีของของกระดาษจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเข้ม และเมื่อนำตัวอย่างปัสสาวะหรือซีรั่มที่มีปริมาณของ BR สีของกระดาษจะเกิดการเปลี่ยนสีจากเทาเข้มกลับมาเป็นสีขาวตามเดิม โดยที่การแปลผลปริมาณความเข้มข้นของ BR จะขึ้นกับระยะทางในการเปลี่ยนสีของกระดาษนั่นเอง ?‍?
------------------------------------------------------------------
สำหรับหลักการในกระบวนการตรวจวัด ผู้ทดสอบเพียงแค่นำปัสสาวะหรือซีรั่มผสมเข้ากับเอนไซม์ในชุดทดสอบที่มีชื่อว่า Bilirubin Oxidase ซึ่งจะทำให้ BR ในตัวอย่างเกิดการผลิตเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณ BR ในระบบ หลังจากนั้นนำสารผสมใส่เข้าไปในกล่องอุปกรณ์คลื่นอัลตราซาวน์ที่สามารถสร้างเองได้ที่บ้าน ซึ่งสามารถสั่งการผ่านแอพพลิเคชั่นบน Smartphone ของผู้ตรวจวัดได้ทันที เพื่อทำให้สารผสมถูกกระตุ้นเกิดเป็นอนุมูลอิสระ (Free Radical) ที่จะไปทำปฏิกิริยากับ 5CB บนแผ่นกระดาษแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงระยะทางของแถบสีตามที่กล่าวมาข้างต้น อะตอมต้องขอบอกเลยว่า นี่มันเจ๋งมากๆเลยครับ ที่ในอนาคตอันใกล้ทีมวิจัยมีวางแผนที่จะผลิตชุดทดสอบนี้ออกวางจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ซึ่งนั่นแปลว่าเราจะคัดกรองโรคตับและไต รวมถึงภาวะขาดธาตุเหล็กหรือโรคหัวใจเบื้องตนได้ที่บ้านภายในเวลาแค่ 15 นาที!!!!! ??????
------------------------------------------------------------------
ผลงานชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Analytica Chimica Acta ปี 2021 (Q1: Impact factor = 5.977) ในชื่อผลงาน “Highly sensitive distance-based liquid crystalline visualization for paper-based analytical devices” โดยเป็นงานวิจัยที่มีความร่วมมือกับ Department of Chemistry, Tamkang University, Taiwan ???

#FSciResearchInnovation #KMUTT

สมัคร สล็อตออนไลน์ สล็อตxo ผู้ให้บริการ เว็บพนันออนไลน์ที่ดีที่สุด

เกมสล็อต SLOTXO สล็อตออนไลน์ ฝาก-ถอน รวดเร็ว แจ็คพอตแตก ใช้งานผ่านมือถือและเว็บไซต์
ทำไมต้อง สล็อตออนไลน์ กับ สล็อตxo เพราะเราคือผู้ให้บริการ เกมสล็อต ที่ดีที่สุด พร้อมกับโปรโมชั่นอีกมากมาย และระบบที่ทันสมัย มีตัวเกมให้เลือกเล่นอีกมากมาย ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ที่ตัดสินใจในการลงทุน หลายคนคงคุ้นเคยกับตู้เกมสล็อตมาบ้างแล้ว SLOTXO จะนำท่านไปสู่โลกของ เกมสล็อตอีกมากมาย ทั้งกราฟฟิต เสียง sound effect ที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกมากมายใน สล็อตxo

  1. เว็บพนันออนไลน์ อันดับ 1 ของเอเชีย
  2. สล็อตออนไลน์อันดับ1
  1. Online Casino India
  2. Best Aviator Game App In India
  3. Andar Bahar Online Game
  4. Casino App Real Money India
  5. Best Cricket Betting Sites In India
  6. Best Casino Game to Win Real Money
  7. Online Casino Games In India
  1. Slot Online Terpercaya
  2. Judi Slot Online Jackpot Terbesar
  3. Judi Slot Terpercaya
  4. Kumpulan Situs Judi QQ Online Terpercaya
  5. Situs Slot Deposit Pulsa dan Slot Online Terbaik
  6. Slot Hacker
  7. Situs Slot Online Terbaik
  8. Slot Gacor Gampang Menang
  9. Slot Online
  10. Situs Slot Online Terbaik 2022
  11. Slot RTP Pragmatic
  12. Situs Slot Gacor 2022