Previous Next

ทีมวิจัย มจธ. คิดค้น “แผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์”

Print

 

ถ้ากินยาไม่ได้ ฉีดยาโดยตรงก็มีข้อจำกัด แล้วผู้ป่วยจะรับยาเข้าร่างกายได้อย่างไร ? ผลงานสุดเจ๋งของทีมวิจัย มจธ. คิดค้น “แผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์” !!!!  ????

-----------------------------------------------------------------------

ใช่แล้วครับทุกท่าน อีกหนึ่งผลงานประจำสัปดาห์นี้กับกลุ่มวิจัย SPICE (Sustainable Polymer & Innovative Composite Materials Research Group) คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. ในเมื่อวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าเร็วเท่าไร องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยิ่งต้องพัฒนาให้ก้าวเร็วกว่าเท่านั้น!!! เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ช่วยลดขีดจำกัดของรักษาผู้ป่วย และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างยั่งยืน ?‍???

-----------------------------------------------------------------------

แขกรับเชิญประจำบทความนี้ อะตอมได้รับเกียรติสัมภาษณ์โดยตรงกับ ผศ. ดร.นพวรรณ ปาระดี อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และหนึ่งในนักวิจัยจากกลุ่มวิจัย SPICE ซึ่งเป็นผู้คิดค้นแผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์ ร่วมกับทีมวิจัยจากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ?‍?

-----------------------------------------------------------------------

อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ไอเดียของงานนี้มาจากเทคโนโลยีการทำไอออนโตโฟรีซิส (Iontophoresis) ที่นิยมใช้ในคลินิกเสริมความงามที่เป็นกระบวนการผลักสารบำรุงผิวหน้าผ่านผิวหนังโดยอาศัยความต่างศักย์ไฟฟ้า ในเมื่อเทคโนโลยีนี้ใช้กับความงามได้ ทำไมเราจะประยุกต์มาใช้กับการนำส่งยารักษาผู้ป่วยไม่ได้ละ? ???‍?

-----------------------------------------------------------------------

Q: อาจารย์ครับ ทำไมเราต้องส่งยาผ่านทางผิวหนังละครับ ในเมื่อการกิน หรือ ฉีด น่าจะง่ายกว่าไม่ใช่หรือครับ?

A: ใช่ค่ะ การกินยาง่ายกว่าแน่นอน แต่ถ้ามีผู้ป่วยที่กินไม่ได้ละ จะทำอย่างไร? จากการค้นคว้าหาข้อมูลทีมวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีภาวะอาเจียนง่าย หรือไม่สามารถรับยาผ่านทางการกินได้ หรือถ้ากินยาได้ตัวยาอาจถูกลดทอนปริมาณ (Dosage) ของยาลงในขณะที่ผ่านกระเพาะอาหาร ส่งผลต่อการควบคุมและบริหารจัดการปริมาณยาให้เหมาะสมกับอาการของโรคเป็นไปได้ยากมาก ในกรณีของการฉีดยาเองก็มีข้อจำกัด เนื่องจากการฉีดยาจะต้องใช้พยาบาลหรือผู้ชำนาญเฉพาะทางในการฉีดยาเท่านั้น อีกทั้งการฉีดยาจะทำให้ความเข้มข้นของปริมาณยาสูงมากในหลอดเลือดตรงบริเวณที่ฉีดก่อนที่ปริมาณยาจะลดลงในเวลาต่อมาซึ่งก็ทำให้ยากต่อการควบคุมปริมาณยาเช่นกัน ???

-----------------------------------------------------------------------

Q: แล้วแผ่นแปะนำส่งยาที่ทีมวิจัยคิดค้นขึ้นมา มีกระบวนการสร้างและหลักการทำงานยังไงครับ?

A: ในการคิดค้นแผ่นแปะนำส่งยาของงานวิจัยนี้ เราใช้ยา Diclofenac Sodium Salt ซึ่งเป็นยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยการนำตัวยาไปผสมกับพอลิเมอร์ชีวภาพ (Biopolymer) ได้แก่ Dextran ซึ่งเป็นโพลีแซกคาไรด์ที่พบในยีสต์และแบคทีเรีย และพอลิเมอร์นำไฟฟ้า (Conductive Polymer) ที่ชื่อว่า Poly(2-Ethylaniline) ในรูปแบบของไฮโดรเจล (Hydrogels) ซึ่งปลอดภัยและไม่เป็นพิษต่อร่างกาย จากนั้นนำแผ่นยาไฮโดรเจลมาติดบนแผ่นรองรับเพื่อสร้างเป็นแผ่นแปะนำส่งยาที่มีลักษณะคล้ายกับแผ่นพลาสเตอร์ปิดแผลทั่วไปซึ่งจะทำงานร่วมกับอุปกรณ์จ่ายสนามไฟฟ้า ในการใช้งานเพียงแค่นำแผ่นแปะนำส่งยาไปติดลงบนผิวหนังตรงบริเวณที่ต้องการจะส่งยาเข้าไปในร่างกายแล้วทำการจ่ายสนามไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นตัวยาให้ถูกพลักลงสู่ชั้นใต้ผิวหนัง ??‍???

-----------------------------------------------------------------------

โอ้วโหวว!!!! แบบนี้เท่ากับว่าผู้ป่วยจะได้รับยารักษาที่ตรงจุดและสามารถควบคุมปริมาณของยาได้ตามต้องการ โดยที่ปริมาณของยาจะไม่ถูกลดทอนจากการกิน อีกทั้งวิธีการนี้ยังง่ายและสะดวกอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้านซึ่งต่างจากการฉีดยาที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องเดินทางไปรับยาการฉีดยาที่โรงพยาบาลหรือใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการฉีดยาเท่านั้น สุดยอดไปเลยครับทีมวิจัยนี้!!! ???

-----------------------------------------------------------------------

ท่านผู้อ่านทุกท่านทราบไหมครับว่า นี่คือหนึ่งในผลงานวิจัยฉบับปฐมบทของเทคโนโลยีการนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์กันเลยทีเดียว สืบเนื่องจากทีมวิจัย SPICE ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการศึกษากลุ่มของพอลิเมอร์นำไฟฟ้า และพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดต่างๆ ที่มีผลกับการนำส่งยาแต่ละชนิดนอกเหนือจาก Diclofenac Sodium Salt ที่กล่าวไปข้างต้น ?‍???‍?

.

ซึ่งอาจารย์นพวรรณ ยังได้บอกอีกว่า พวกเราจะได้เห็นภาคต่อของงานวิจัยแผ่นแปะนำส่งยานี้อย่างแน่นอน ซึ่งอะตอมแอบดีใจว่าในอนาคตอันใกล้เราอาจจะได้ใช้แผ่นแปะนำส่งยาแผ่นแรกของประเทศที่คิดคิดโดยคนไทยในฉบับปัจฉิมบทของเทคโนโลยีการนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์!!! ?

-----------------------------------------------------------------------

ผลงานชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Materials Science & Engineering C ปี 2021 (Q1: Impact factor = 5.880) ในชื่อผลงาน “Conductive Poly(2-ethylaniline) Dextran-Based Hydrogels for Electrically Controlled Diclofenac Release” ???

.

Publication URL: ???https://www.sciencedirect.com/.../abs/pii/S0928493120332641

#FSciResearchInnovation #KMUTT