ทีมนักวิจัยจากภาควิชาจุลชีวิทยา มจธ. “ค้นพบเชื้อแบคทีเรียที่เป็น สาเหตุ!! ของการเกิดโรคระบาดในปลากะพงเป็นครั้งแรก!!!

Print

ต้อนรับปีใหม่กับ “FSci Q1 Research” ?????
มาที่ผลงานล่าสุดจากภาควิชาจุลชีววิทยากันเลยครับบบ

ทีมนักวิจัยจากภาควิชาจุลชีวิทยา มจธ. “ค้นพบเชื้อแบคทีเรียที่เป็น สาเหตุ!! ของการเกิดโรคระบาดในปลากะพงเป็นครั้งแรก!!!” โอ้วโหววว
?????

อะตอมได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ ผศ. ดร.ไตรวิทย์ รัตนโรจน์พงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา หนึ่งในทีมนักวิจัยผลงานชิ้นนี้ ????

อาจารย์เล่าว่า ปลากะพงในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะพบโรคระบาดอยู่หลายชนิด ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับโรคระบาดที่มีชื่อว่า Scale drop and muscle necrosis (SDMN) โดยการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างของฟาร์มปลากะพงที่ประเทศเวียดนาม แต่เดิมได้มีการรายงานเกี่ยวกับโรค SDMN เกิดจากไวรัสที่ทำให้เกิดโรคชนิดนี้ แต่!!!! ทีมวิจัยนี้ได้ค้นพบว่า โรค SDMN สามารถเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Vibrio harveyi ได้เช่นเดียวกัน!!! โอ้ววว.. มาฟังรายละเอียดกัน

ทีมวิจัยได้ทำการสกัดโปรตีนจากแบคทีเรีย Vibrio harveyi ที่แยกจากปลาที่เกิดโรคและทำการศึกษาแบบแผนของโปรตีนที่เชื้อสร้างขึ้นโดยพบว่าโปรตีนที่มีขนาด 33 kDa เป็นโปรตีนที่พบเฉพาะในเชื้อแบคทีเรียที่จากปลาที่เป็นโรคแต่ไม่พบในเชื้อแบคทีเรียสปีชีส์นี้ในสายพันธุ์อื่นๆ และตั้งชื่อโปรตีนนี้ว่า hypothetical protein (HP33) โดยสันนิษฐานว่าโปรตีน HP33 อาจเป็นโปรตีนก่อโรคของเชื้อแบคทีเรีย Vibrio harveyi ที่ก่อให้เกิดโรค SDMN และทดสอบว่าโปรตีนนี้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของปลาได้หรือไม่เพื่อนำมาใช้เป็นวัคซีนตัวเลือกในอนาคต ดังนั้นทางทีมจึงผลิตโปรตีนชนิดนี้ในเซลล์ของเชื้อ E. coli และนำโปรตีนที่ผลิตได้มาทดสอบสอบความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลาซึ่งพบว่าโปรตีนสามารถกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในปลาได้ดีจากการสร้าง antibody ต่อโปรตีน HP33 จึงสรุปได้ว่าโปรตีน HP33

ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้นี้เป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะสามารถนำมาพัฒนา biomarker สำหรับสร้าง sensor ในการตรวจหาเชื้อสายพันธุ์ก่อโรค อีกทั้งยังนำไปสู่การพัฒนาเพื่อผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรค SDMN จากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Vibrio harveyi ได้ในอนาคต

ผลงานชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Fish and Shellfish Immunology ปี 2021 (Q1: Short communication, Impact factor 3.37) ในชื่อผลงาน “Antigenicity of Hypothetical Protein HP33 of Vibrio Harveyi Y6 Causing Scale Drop and Muscle Necrosis Disease in Asian Sea Bass” ???
#FSciResearchInnovation #KMUTT