Previous Next

ภัยร้ายจาก “โบรไมด์” ของสารตกค้างทางการเกษตร และ “โบรเมต” ในน้ำดื่มและขนมปัง สามารถตรวจได้ด้วยตาเปล่าแล้ววันนี้ !!! ?????

Print

กลับมาอีกแล้ววว กับกลุ่มวิจัย OSEN (Organic Synthesis, Electrochemistry and Natural Product) นำทีมวิจัยโดย ผศ. ดร.วิจิตรา เดือนฉาย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งสัปดาห์ก่อนเราได้อัปเดตผลงานชุดตรวจวินิจฉัยโรคเบื้องต้นกันไปแล้ว
.
สัปดาห์นี้อะตอมได้บินไปที่รัฐ Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านสายการบิน Zoom อีกครั้ง ^^! เนื่องจากว่าพี่กมลชนก หรือ นางสาวกมลชนก พูลสวัสดิ์ นักศึกษาปริญญาเอกทุนเพชรพระจอมเกล้าดุษฎีบัณฑิต เจ้าของผลงานชุดตรวจวัดสารโบรไมด์และโบรเมตได้ด้วยตาเปล่า!!! กำลังทำวิจัยระยะสั้นอยู่ที่ต่างประเทศนั่นเอง?‍??‍?
------------------------------------------------------------------------
พี่กมลชนกเล่าให้ฟังว่า เกษตรกรหลายคนอาจจะไม่รู้ถึงภัยอันตรายของโบรไมด์ (Bromide) เนื่องจากเกษตรกรจะใช้สารเคมีในกลุ่มเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) ในการรมควันเพื่อกำจัดมอดที่อยู่ในข้าวซึ่งจะเกิดสารตกค้างโบรไมด์ที่เป็นอันตรายอย่างมากต่อเกษตรกร เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและยังส่งผลระยะยาวต่อร่างกายอีกด้วย???‍??
.
นอกจากนี้ถ้าสารชนิดนี้ตกค้างอยู่ในข้าวอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยได้ออกข้อกำหนดในการห้ามใช้สารกลุ่มนี้โดยที่มีเกณฑ์ระดับความอันตรายว่าจะต้องมีปริมาณโปรไมด์น้อยกว่า 50 mg ต่อตัวอย่างที่มีน้ำหนัก 1 kg ?‍???
.
ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับความอันตรายของโบรไมด์พร้อมกับการสร้างชุดทดสอบที่เกษตรกรสามารถตรวจวัดและประเมินได้เองถึงการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เสี่ยงมากหรือน้อยขนาดไหนจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะในปัจจุบันยังไม่มีชุดทดสอบสารชนิดนี้ในรูปแบบพกพาและตรวจวัดได้ด้วยตาเปล่า!!! ???
.
สำหรับโบรเมต (Bromate) จัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งที่มีอันตรายอย่างมากต่อมนุษย์ ซึ่งจะพบโบรเมตได้จาก กระบวนการผลิตน้ำดื่มและกระบวนการผลิตขนมปัง ในกรณีน้ำดื่มเมื่อมีการเติม Ozone ลงไปในกระบวนการบำบัดน้ำ โบรไมด์ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่แล้วในน้ำธรรมชาติทำปฏิกิริยากับ Ozone จะเปลี่ยนรูปเป็นโบเมตและนี่คือสาเหตุที่กระบวนการผลิตน้ำจำเป็นต้องมีการควบคุมปริมาณของโบรไมด์และโบเมตไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน ?‍????
.
ในการผลิตขนมปังผู้ประกอบการมักนิยมเพิ่มสารเติมแต่งที่เรียกว่า สารโพแทสเซียมโบรเมต (Potassium Bromate) เพื่อเสริมสร้างการทำงานของกลูเตนในแป้งที่ใช้ผลิตขนมปัง แต่ผลเสียที่ตามมาคือ เกิดสารตกค้างในรูปของโบรเมตในผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยได้ประกาศห้ามใช้สารชนิดนี้ในกระบวนการผลิตขนมปังเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ??‍??
.
จาก 2 เหตุปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้ทีมวิจัยคิดค้นชุดตรวจวัดโบไมด์และโบรเมตที่ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว ราคาถูก และสามารถพกพาเพื่อใช้ตรวจวัดที่ไหนก็ได้ โดยทราบผลการตรวจวัดได้จากตาเปล่า เพื่อตอบโจทย์ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ต้องการตรวจเช็คความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ก่อนถึงมือผู้บริโภค รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ต้องการตรวจสอบคุณภาพของน้ำและอาหารในชีวิตประจำวัน ??‍??
.
ในเชิงเทคนิคของชุดทดสอบดังกล่าว พี่กมลชนกได้อธิบายหลักการทำงานเบื้องต้นว่า การตรวจวัดโบรไมด์ทางทีมวิจัยได้คิดค้นสารทดสอบเคลือบลงบนแผ่นกระดาษที่มีคุณสมบัติในการกรองได้ในตัวเอง เพียงแต่นำตัวอย่างของพืชที่มีการปนเปื้อนละลายในน้ำเปล่า จากนั้นนำน้ำสารละลายหยดลงบนพื้นที่ตรวจวัดของแผ่นกระดาษทดสอบ สารโบรไมด์จะทำปริกิริยากับสารทดสอบบนแผ่นกระดาษ ถ้าสารตัวอย่างมีการปนเปื้อนของโบรไมด์สีบนกระดาษจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยที่ระยะทางการเปลี่ยนสีจะสัมพันธ์กับความเข้มข้นโบรไมด์ที่ตรวจวัดได้ ???
.
สำหรับการตรวจวัดสารโบรเมตที่ตกค้างในขนมปัง ทีมวิจัยจะใช้ชุดตรวจวัดที่ประกอบไปด้วย “แผ่นกระดาษทดสอบ” และ “ขวดเตรียมตัวอย่าง” วิธีการตรวจวัดเริ่มจากนำตัวอย่างขนมปังบดใส่ในขวดเตรียมตัวอย่าง จากนั้นเติมสารละลายที่ 1 และ 2 ผสมในขวดเตรียมตัวอย่าง ซึ่งด้านบนของขวดจะมีพื้นที่อากาศเป็นช่องว่างเพื่อแขวนแผ่นกระดาษทดสอบ ถ้าในขนมปังมีการเจือปนของโบรเมต สารโบรเมตจะทำปฏิกิริยากับสารละลาย 1 และ 2 จนเกิดเป็นแก๊สโบรมีนแล้วไปเกาะอยู่บนผิวของกระดาษทดสอบภายในขวด จากนั้นดึงกระดาษทดสอบมาหยดน้ำยาตรวจวัดจะพบการเปลี่ยนแปลงของสีบนกระดาษจากสีชมพูเป็นสีเหลือง ซึ่งระยะทางของการเปลี่ยนสีบนกระดาษจะบ่งบอกถึงปริมาณความเข้มข้นของสารโบรเมตในขนมปังนั่นเอง!!! ??‍????
------------------------------------------------------------------------
โอ้วโหววว ทำไมผลงานของทีมวิจัย OSEN แต่ละคนถึงได้สรรค์สร้างอะไรที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตขนาดนี้ อะตอมต้องขอบอกเลยว่า บทสัมภาษณ์ฉบับหน้าเราจะยังอยู่กับพี่กมลชนกที่รัฐ Colorado เพื่อพูดคุยกันต่อกับอีกหนึ่งผลงานที่จะเข้ามาช่วยคุณหมอในการวินิจฉัยโรค!!! แล้วมารอติดตามเรื่องราวของพี่เขากันต่อนะครับบบบ ????
------------------------------------------------------------------------
ผลงานชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Talanta ปี 2021 (Q1: Impact factor = 5.339) ในชื่อผลงาน “Highly Sensitive, Selective and Naked-Eye Detection of Bromide and Bromate Using Distance–Based Paper Analytical Device” ???
.
Publication link: https://www.sciencedirect.com/.../abs/pii/S003991402030881X
.
#FSciResearchInnovation #KMUTT