King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT)

 

 

   

1 | 2

Previous Next

ทีมวิจัย มจธ. คิดค้น “แผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์”

 

ถ้ากินยาไม่ได้ ฉีดยาโดยตรงก็มีข้อจำกัด แล้วผู้ป่วยจะรับยาเข้าร่างกายได้อย่างไร ? ผลงานสุดเจ๋งของทีมวิจัย มจธ. คิดค้น “แผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์” !!!!  ????

-----------------------------------------------------------------------

ใช่แล้วครับทุกท่าน อีกหนึ่งผลงานประจำสัปดาห์นี้กับกลุ่มวิจัย SPICE (Sustainable Polymer & Innovative Composite Materials Research Group) คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. ในเมื่อวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าเร็วเท่าไร องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยิ่งต้องพัฒนาให้ก้าวเร็วกว่าเท่านั้น!!! เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ช่วยลดขีดจำกัดของรักษาผู้ป่วย และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างยั่งยืน ?‍???

-----------------------------------------------------------------------

แขกรับเชิญประจำบทความนี้ อะตอมได้รับเกียรติสัมภาษณ์โดยตรงกับ ผศ. ดร.นพวรรณ ปาระดี อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และหนึ่งในนักวิจัยจากกลุ่มวิจัย SPICE ซึ่งเป็นผู้คิดค้นแผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์ ร่วมกับทีมวิจัยจากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ?‍?

-----------------------------------------------------------------------

อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ไอเดียของงานนี้มาจากเทคโนโลยีการทำไอออนโตโฟรีซิส (Iontophoresis) ที่นิยมใช้ในคลินิกเสริมความงามที่เป็นกระบวนการผลักสารบำรุงผิวหน้าผ่านผิวหนังโดยอาศัยความต่างศักย์ไฟฟ้า ในเมื่อเทคโนโลยีนี้ใช้กับความงามได้ ทำไมเราจะประยุกต์มาใช้กับการนำส่งยารักษาผู้ป่วยไม่ได้ละ? ???‍?

-----------------------------------------------------------------------

Q: อาจารย์ครับ ทำไมเราต้องส่งยาผ่านทางผิวหนังละครับ ในเมื่อการกิน หรือ ฉีด น่าจะง่ายกว่าไม่ใช่หรือครับ?

A: ใช่ค่ะ การกินยาง่ายกว่าแน่นอน แต่ถ้ามีผู้ป่วยที่กินไม่ได้ละ จะทำอย่างไร? จากการค้นคว้าหาข้อมูลทีมวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีภาวะอาเจียนง่าย หรือไม่สามารถรับยาผ่านทางการกินได้ หรือถ้ากินยาได้ตัวยาอาจถูกลดทอนปริมาณ (Dosage) ของยาลงในขณะที่ผ่านกระเพาะอาหาร ส่งผลต่อการควบคุมและบริหารจัดการปริมาณยาให้เหมาะสมกับอาการของโรคเป็นไปได้ยากมาก ในกรณีของการฉีดยาเองก็มีข้อจำกัด เนื่องจากการฉีดยาจะต้องใช้พยาบาลหรือผู้ชำนาญเฉพาะทางในการฉีดยาเท่านั้น อีกทั้งการฉีดยาจะทำให้ความเข้มข้นของปริมาณยาสูงมากในหลอดเลือดตรงบริเวณที่ฉีดก่อนที่ปริมาณยาจะลดลงในเวลาต่อมาซึ่งก็ทำให้ยากต่อการควบคุมปริมาณยาเช่นกัน ???

-----------------------------------------------------------------------

Q: แล้วแผ่นแปะนำส่งยาที่ทีมวิจัยคิดค้นขึ้นมา มีกระบวนการสร้างและหลักการทำงานยังไงครับ?

A: ในการคิดค้นแผ่นแปะนำส่งยาของงานวิจัยนี้ เราใช้ยา Diclofenac Sodium Salt ซึ่งเป็นยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยการนำตัวยาไปผสมกับพอลิเมอร์ชีวภาพ (Biopolymer) ได้แก่ Dextran ซึ่งเป็นโพลีแซกคาไรด์ที่พบในยีสต์และแบคทีเรีย และพอลิเมอร์นำไฟฟ้า (Conductive Polymer) ที่ชื่อว่า Poly(2-Ethylaniline) ในรูปแบบของไฮโดรเจล (Hydrogels) ซึ่งปลอดภัยและไม่เป็นพิษต่อร่างกาย จากนั้นนำแผ่นยาไฮโดรเจลมาติดบนแผ่นรองรับเพื่อสร้างเป็นแผ่นแปะนำส่งยาที่มีลักษณะคล้ายกับแผ่นพลาสเตอร์ปิดแผลทั่วไปซึ่งจะทำงานร่วมกับอุปกรณ์จ่ายสนามไฟฟ้า ในการใช้งานเพียงแค่นำแผ่นแปะนำส่งยาไปติดลงบนผิวหนังตรงบริเวณที่ต้องการจะส่งยาเข้าไปในร่างกายแล้วทำการจ่ายสนามไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นตัวยาให้ถูกพลักลงสู่ชั้นใต้ผิวหนัง ??‍???

-----------------------------------------------------------------------

โอ้วโหวว!!!! แบบนี้เท่ากับว่าผู้ป่วยจะได้รับยารักษาที่ตรงจุดและสามารถควบคุมปริมาณของยาได้ตามต้องการ โดยที่ปริมาณของยาจะไม่ถูกลดทอนจากการกิน อีกทั้งวิธีการนี้ยังง่ายและสะดวกอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้านซึ่งต่างจากการฉีดยาที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องเดินทางไปรับยาการฉีดยาที่โรงพยาบาลหรือใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการฉีดยาเท่านั้น สุดยอดไปเลยครับทีมวิจัยนี้!!! ???

-----------------------------------------------------------------------

ท่านผู้อ่านทุกท่านทราบไหมครับว่า นี่คือหนึ่งในผลงานวิจัยฉบับปฐมบทของเทคโนโลยีการนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์กันเลยทีเดียว สืบเนื่องจากทีมวิจัย SPICE ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการศึกษากลุ่มของพอลิเมอร์นำไฟฟ้า และพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดต่างๆ ที่มีผลกับการนำส่งยาแต่ละชนิดนอกเหนือจาก Diclofenac Sodium Salt ที่กล่าวไปข้างต้น ?‍???‍?

.

ซึ่งอาจารย์นพวรรณ ยังได้บอกอีกว่า พวกเราจะได้เห็นภาคต่อของงานวิจัยแผ่นแปะนำส่งยานี้อย่างแน่นอน ซึ่งอะตอมแอบดีใจว่าในอนาคตอันใกล้เราอาจจะได้ใช้แผ่นแปะนำส่งยาแผ่นแรกของประเทศที่คิดคิดโดยคนไทยในฉบับปัจฉิมบทของเทคโนโลยีการนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์!!! ?

-----------------------------------------------------------------------

ผลงานชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Materials Science & Engineering C ปี 2021 (Q1: Impact factor = 5.880) ในชื่อผลงาน “Conductive Poly(2-ethylaniline) Dextran-Based Hydrogels for Electrically Controlled Diclofenac Release” ???

.

Publication URL: ???https://www.sciencedirect.com/.../abs/pii/S0928493120332641

#FSciResearchInnovation #KMUTT

สมัคร สล็อตออนไลน์ สล็อตxo ผู้ให้บริการ เว็บพนันออนไลน์ที่ดีที่สุด

เกมสล็อต SLOTXO สล็อตออนไลน์ ฝาก-ถอน รวดเร็ว แจ็คพอตแตก ใช้งานผ่านมือถือและเว็บไซต์
ทำไมต้อง สล็อตออนไลน์ กับ สล็อตxo เพราะเราคือผู้ให้บริการ เกมสล็อต ที่ดีที่สุด พร้อมกับโปรโมชั่นอีกมากมาย และระบบที่ทันสมัย มีตัวเกมให้เลือกเล่นอีกมากมาย ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ที่ตัดสินใจในการลงทุน หลายคนคงคุ้นเคยกับตู้เกมสล็อตมาบ้างแล้ว SLOTXO จะนำท่านไปสู่โลกของ เกมสล็อตอีกมากมาย ทั้งกราฟฟิต เสียง sound effect ที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกมากมายใน สล็อตxo

  1. เว็บพนันออนไลน์ อันดับ 1 ของเอเชีย
  2. สล็อตออนไลน์อันดับ1
  1. Online Casino India
  2. Best Aviator Game App In India
  3. Andar Bahar Online Game
  4. Casino App Real Money India
  5. Best Cricket Betting Sites In India
  6. Best Casino Game to Win Real Money
  7. Online Casino Games In India
  1. Slot Online Terpercaya
  2. Judi Slot Online Jackpot Terbesar
  3. Judi Slot Terpercaya
  4. Kumpulan Situs Judi QQ Online Terpercaya
  5. Situs Slot Deposit Pulsa dan Slot Online Terbaik
  6. Slot Hacker
  7. Situs Slot Online Terbaik
  8. Slot Gacor Gampang Menang
  9. Slot Online
  10. Situs Slot Online Terbaik 2022
  11. Slot RTP Pragmatic
  12. Situs Slot Gacor 2022