King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT)

 

 

   

1 | 2

Previous Next

นักวิจัย มจธ. เปิดประตูโครงสร้างโปรตีนสู่การดัดแปลงเอมไซม์เพื่อประโยชน์ในอนาคต"

สัปดาห์ก่อนอะตอมได้มีโอกาสเข้าไปสัมภาษณ์กับ ผศ. ดร.พงค์ศักดิ์ ขุนแร่ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา และเป็นหนึ่งในทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการ SEPEL (Structural Engineering of Protein and Enzyme Laboratory) โดยมี นายอภิเชษฐ เงินยวง นักศึกษาปริญญาโทผู้ทำการทดลองพัฒนาการดัดแปลงโครงสร้างโปรตีนของเอมไซม์ (Enzyme) ที่มีชื่อว่า Xylanase ให้มีขีดความสามารถทั้งในเชิงคุณสมบัติเฉพาะและการนำใช้ประโยชน์ที่จะตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ??‍???‍?
.
อาจารย์เล่าให้ฟังว่า กลไกทางชีววิทยาในธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องมีเอมไซม์ที่ช่วยย่อยสารอาหารให้กลายเป็นน้ำตาล ตัวอย่างเช่น Xylanase ที่สามารถย่อยสารอาหารจำพวกฟางข้าว เศษซากพืช หรือชานอ้อย เพื่อให้เกิดน้ำตาลไซโลส (Xylose) ที่มาเรียงต่อกันกลายเป็นรูปแบบของน้ำตาลที่มีชื่อว่า XOS (Xylo-oligosaccharides) Profile สำหรับใช้เป็น “อาหาร (Prebiotic)” ของ “จุลินทรีย์ดี (Probiotic)” ???
.
เมื่อสิ่งมีชีวิตมีจุลินทรีย์ดีเป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมา คือ สิ่งมีชีวิตจะมีการเจริญเติบโตที่แข็งแรงมากขึ้น เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น และมีความสามารถในการต้านทานโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับธรรมชาติทางชีววิทยาที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต
????
.
แต่การจะตามหาเอมไซม์ในธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเฉพาะและสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์หรือแม้แต่อาหารเสริมในมนุษย์เป็นเรื่องที่ยากและยังติดข้อจำกัดอยู่มากมาย เนื่องจากเอมไซม์ในธรรมชาติไม่ทนร้อนและในกระบวนการย่อยสารอาหารจะเกิดผลลัพธ์ของ Prebiotic เป็นแบบสุ่ม (Random) โดยไม่สามารถกำหนดหรือเลือกชนิดของ Prebiotic ได้ จึงต้องมีการเพิ่มกระบวนการเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ให้คงไว้แต่ Prebiotic ที่ต้องการ ???
.
ดังนั้นจึงทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ยังไม่มีเอมไซม์ที่ตอบโจทย์กับความต้องการได้เท่าที่ควร หลายปีที่ผ่านมามีงานวิจัยมากมายที่พยายามศึกษาเกี่ยวกับการระบุชนิดและสัดส่วนของ Prebiotic ที่มีอยู่หลากหลายให้ตรงกับการใช้งานทางชีววิทยามากที่สุด และนี่คือ "จุดเริ่มต้นของทีมวิจัยที่เริ่มเปิดประตูโครงสร้างของโปรตีนแล้วทำการดัดแปลงเอมไซม์ที่มีอยู่ธรรมชาติให้เป็นไปในแบบที่เราต้องการ!!" ???
.
ทีมวิจัย SEPEL ได้ประสบความสำเร็จในการดัดแปลง Xylanase ให้มีความสามารถในการทนความร้อนและเกิดปฏิกิริยาการย่อยสลายได้ดี แต่ยังไม่สามารถพัฒนาโครงสร้างให้ผลิต XOS Profile (ตั้งแต่ X1 ถึง X6) ให้เกิดได้อย่างสมบูรณ์
.
ด้วยเงื่อนไขทางชีววิทยาดังกล่าว ทำให้ทีมวิจัย SEPEL จับมือกับทีมนักวิจัยจากสาขาฟิสิกส์ ซึ่งนำทีมโดย ผศ.ดร.ธนา สุทธิบัทม์พงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ ผู้เชี่ยวชาญในการจำลองรูปแบบโมเดลสามมิติของโครงสร้างโมเลกุล Xylanase โดยการคำนวณค่าพลังงานที่แม่นยำให้เป็นไปตามกฎของฟิสิกส์เพื่อช่วยลดจำนวนการทดลองจริงโดยใช้การจำลองรูปแบบเข้ามาช่วยจนกลายเป็น “Xylanase Mutation ที่มีชื่อว่า K40L”
.
ในธรรมชาติโครงสร้างของ Xylanase ทั่วไป จะมีพฤติกรรมการย่อยสลายจนเกิด Prebiotic ในรูปแบบ XOS Profile โดยจะผลิตและย่อยสลาย Substrate ของ X6 ลงมาจนเหลือแค่ X1 (Xylose หรือ Monosaccharide) และไม่สามารถชะลอหรือกักเก็บ Prebiotic ในกลุ่ม X4 ไว้ได้ จึงเป็นเหตุให้ทีมวิจัยเกิดการตั้งคำถามว่า...
.
“แล้วถ้าการสร้าง Probiotic ที่จำเป็นต้องใช้ X4 จะทำอย่างไร ในเมื่อกระบวนการผลิต Prebiotic ไม่หลงเหลือ X4 อีกเลย”
.
ด้วยเหตุนี้ทีมวิจัยจึงทำการศึกษาและทดลองจนพบปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมของ Xylanase ทั่วไป ชะลอการย่อยสลาย XOS ไปเรื่อย ๆ นั่นก็คือ ต้องทำการดัดแปลงโครงสร้างของ K40L บริเวณ Binding Site เพื่อลดทอนการจับกันระหว่าง Substrate กับ Enzyme ผลที่ได้จะช่วยชะลอการย่อย Prebiotic ในกลุ่ม X4 ได้ ส่งผลให้มีเวลาในการกักเก็บ X4 ได้นานขึ้น
.
ดังนั้น K40L จึงเป็น Xylanase Mutation ที่มีความสามารถเหนือจากที่ธรรมชาติให้มาในทุกมิติของการใช้งาน เป็น Prebiotic ที่ทนความร้อน เร่งปฏิกิริยาได้รวดเร็ว และสามารถชะลอรูปแบบการเกิด XOS Profile จนกลายเป็น Prebiotic ที่สมบูรณ์แบบเมื่อเทียบกับ Xylanase ทั่วไป
.
จากผลความร่วมมือของทีมวิจัยจุลชีววิทยาและฟิสิกส์ทำให้เราได้รู้ว่า เมื่อเข้าใจถึงพฤติกรรมและเงื่อนไขทางชีววิทยาของ Enzyme ผนวกกับการคำนวณที่แม่นยำโดยกฎของฟิสิกส์ทำให้ลดจำนวนการทดลองจริงและช่วยยืนยันผลการทดลองเชิงทฤษฎี จึงทำให้ผลงานวิจัยนี้เปรียบเหมือนกุญแจดอกแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างมากกับองค์ความรู้เชิงลึกในการพัฒนาต่อยอดการผลิต Prebiotic ให้มีรูปแบบของ XOS Profile แบบเฉพาะเจาะจงได้ เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นการผลิตอาหารสัตว์หรืออาหารเสริมในมนุษย์ กลายเป็นอาหารที่กำลังจะเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “อาหารฟังก์ชัน (Functional Food)” แห่งในอนาคต
.
ผลงานชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Biological Macromolecules ปี 2021 (Q1: Impact factor = 6.953) ในชื่อผลงาน “Effect of N-terminal Modification on the Mode of Action Between the Xyn11A and Xylotetraose” ???
#FSciResearchInnovation #KMUTT

สมัคร สล็อตออนไลน์ สล็อตxo ผู้ให้บริการ เว็บพนันออนไลน์ที่ดีที่สุด

เกมสล็อต SLOTXO สล็อตออนไลน์ ฝาก-ถอน รวดเร็ว แจ็คพอตแตก ใช้งานผ่านมือถือและเว็บไซต์
ทำไมต้อง สล็อตออนไลน์ กับ สล็อตxo เพราะเราคือผู้ให้บริการ เกมสล็อต ที่ดีที่สุด พร้อมกับโปรโมชั่นอีกมากมาย และระบบที่ทันสมัย มีตัวเกมให้เลือกเล่นอีกมากมาย ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ที่ตัดสินใจในการลงทุน หลายคนคงคุ้นเคยกับตู้เกมสล็อตมาบ้างแล้ว SLOTXO จะนำท่านไปสู่โลกของ เกมสล็อตอีกมากมาย ทั้งกราฟฟิต เสียง sound effect ที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกมากมายใน สล็อตxo

  1. เว็บพนันออนไลน์ อันดับ 1 ของเอเชีย
  2. สล็อตออนไลน์อันดับ1
  1. Online Casino India
  2. Best Aviator Game App In India
  3. Andar Bahar Online Game
  4. Casino App Real Money India
  5. Best Cricket Betting Sites In India
  6. Best Casino Game to Win Real Money
  7. Online Casino Games In India
  1. Slot Online Terpercaya
  2. Judi Slot Online Jackpot Terbesar
  3. Judi Slot Terpercaya
  4. Kumpulan Situs Judi QQ Online Terpercaya
  5. Situs Slot Deposit Pulsa dan Slot Online Terbaik
  6. Slot Hacker
  7. Situs Slot Online Terbaik
  8. Slot Gacor Gampang Menang
  9. Slot Online
  10. Situs Slot Online Terbaik 2022
  11. Slot RTP Pragmatic
  12. Situs Slot Gacor 2022