King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT)

 

 

   

1 | 2

Previous Next

กลับมาแล้ว ภาคต่อของ “แผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์” !!!!

อะตอมเคยได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผลงานวิจัยของ ผศ. ดร.นพวรรณ ปาระดี อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และหนึ่งในนักวิจัยจากกลุ่มวิจัย SPICE (Sustainable Polymer & Innovative Composite Materials Research Group) ซึ่งเป็นผู้คิดค้นแผ่นแปะนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์ ซึ่งในภาคต่อนี้ทีมอาจารย์ได้สร้างแผ่นแปะนำส่งยาแก้ปวดกลุ่มตัวยา Ibuprofen ที่ใช้ฐานเทคโนโลยีจากงานวิจัยก่อนหน้ามาปรับปรุงและพัฒนาร่วมกับทีมวิจัยที่ประเทศไต้หวัน ต้องขอบอกเลยว่าใกล้ความเป็นจริงที่คนไทยจะมีผลิตภัณฑ์นี้ไว้ใช้เองกันแล้ววววว!!!!

อาจารย์เล่าให้ฟังว่า เทคโนโลยีการทำไอออนโตโฟรีซิส (Iontophoresis) ที่นิยมใช้ในคลินิกเสริมความงามที่เป็นกระบวนการผลักสารบำรุงผิวหน้าผ่านผิวหนังโดยอาศัยความต่างศักย์ไฟฟ้า ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของหลักการในการสร้างแผ่นแปะนำส่งยานี้อยู่ แต่ทีมวิจัยได้พัฒนาในด้านความแข็งแรงของแผ่นแปะนำส่งยา และตัวยาที่เลือกมาใช้ในการทดสอบ

Q: อาจารย์ครับ ทำไมถึงเลือกยาแก้ปวดมาทำแผ่นแปะนำส่งยาละครับ?

A: อะตอมเคยทานยาแก้ปวดแล้วปวดท้องเพราะยากัดกระเพาะไหมคะ ถ้าเคยครูจะบอกเลยว่า นี่คือคำตอบว่าทำไมต้อง Ibuprofen ค่ะ ปัญหาหลักของการรับประทานยาแก้ปวดในกลุ่มนี้ คือ มีผลข้างเคียงในการกัดกระเพาะ ผู้ป่วยจะต้องทานยากลุ่มนี้หลังรับประทานอาหารทันที อีกทั้งยังลดทอนปริมาณของยาลงและใช้ระยะเวลานานกว่าร่างกายจะดูดซึมตัวยาเข้าไป ซึ่งตัวยาบางตัวอาจจะต้องรอเวลาในการออกฤทธิ์นานเป็นชั่วโมงจึงจะได้ผล หรือแม้แต่การฉีดก็ยังเกิดปัญหาที่จะต้องได้รับการฉีดโดยพยาบาลหรือผู้ชำนาญเฉพาะทางเท่านั้น ทีมวิจัยเราจึงพยายามสร้างวิธีการที่ทำให้ยาเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่กำหนดโดยอาศัยการนำไฟฟ้าด้วยเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าแบบพกพา เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงใด ๆ และข้อจำกัดต่าง ๆ ของการใช้ยาในกลุ่มนี้นั่นเอง

Q: แผ่นแปะนำส่งยาก่อนหน้านี้เกิดปัญหาอะไรหรอครับ ถึงทำให้เกินผลงานนี้ครับอาจารย์?

A: ก่อนหน้านี้ทีมวิจัยได้พัฒนาแผ่นแปะนำส่งตัวยา ในลักษณะของแผ่น Hydrogel (แผ่นพอลิเมอร์ชอบน้ำที่มีโมเลกุลเป็นแบบโครงร่างตาข่าย) ซึ่งมีความอ่อนนุ่มยืดหยุ่นแต่ในแง่ของการใช้งานจริงกลับมีข้อเสียเรื่องความแข็งแรง ทางทีมวิจัยจึงพยายามคิดค้นองค์ประกอบต่าง ๆ ในการสร้างแผ่นแปะ Hydrogel ที่จะคงความแข็งแรงเอาไว้ได้ จนในที่สุดเราค้นพบสารเติมแต่งชนิดนั่นก็คือ Bacterial Cellulose เป็นโครงเส้นใยธรรมชาติที่สกัดจากเนื้อมะพร้าวซึ่งมีความสามารถในการเพิ่มความแข็งแรงของแผ่น Hydrogel ได้ และนอกจากนั้นยังมีสารเติมแต่งที่มีชื่อว่า Polypyrrole ใช้สำหรับผสมกับตัวยา Ibuprofen ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการนำไฟฟ้าของตัวยาสูงขึ้นถึง 78% ทีมวิจัยใช้เวลาในการคิดค้นและศึกษาอัตราส่วนของสารเคมีต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนจนสามารถนำมาขึ้นรูปเป็นแผ่นแปะนำส่งยา Ibuprofen ได้ในที่สุด

Q: เดี๋ยวนะครับอาจารย์ ทุกวันนี้ถ้าเรามีอาการปวดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เราก็มีครีมทาหรือแผ่นแปะแก้ปวดอยู่ตามท้องตลาดแล้วหนิครับ แล้วแบบนี้ทำไมยังต้องใช้แผ่นแปะของอาจารย์ละครับ?

A: เป็นคำถามที่ดีเลยค่ะอะตอม สิ่งที่เราพิสูจน์มาแล้วจากการจำลองสภาวะผิวหนังเสมือนจริงของมนุษย์ เราพบว่าการทดสอบการซึมผ่านของตัวยาแผ่นแปะนำส่งยานี้มีความเร็วที่สูงมาก เพียงไม่ถึง 30 นาที ตัวยาทั้งหมดก็ซึมผ่านจนถึงจุดที่ต้องการรักษาได้เลย เคยเห็นไหมคะ จะมีผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บบางคนทายาแก้ปวดหรือแปะแผ่นบรรเทาปวดแต่ไม่หายสะที หรือไม่ทุเลาลงสะที มันเป็นเพราะว่ามนุษย์เราจะมีชั้นไขมันอยู่ที่เป็นตัวขัดขวางการซึมผ่านของตัวยาบนแผ่นแปะหรือครีมทาแก้ปวดทั่วไป ซึ่งร่างกายมนุษย์แต่ละคนจะมีชั้นไขมันที่แตกต่างกันออกไปจึงเป็นเหตุให้การรักษาในวิธีการเหล่านี้ได้ผลที่แตกต่างกันนั่นเอง แต่ถ้าเราใช้การนำส่งด้วยไฟฟ้าปัญหาเหล่านี้ก็จะหมดไปนั่นเองค่ะ

โอ้วโหวว!!!! ใกล้เข้ามาอีกขั้นแล้วกับงานวิจัยโดยคนไทยที่จะสร้างเทคโนโลยีของ Wellness Society เพื่อตอบรับสังคมสูงวัยในอนาคต ที่ผู้ป่วยจะได้รับยารักษาที่ตรงจุดและสามารถควบคุมปริมาณของยาได้ตามต้องการ โดยที่ปริมาณของยาจะไม่ถูกลดทอนจากการกิน อีกทั้งวิธีการนี้ยังง่ายและสะดวกอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้านซึ่งต่างจากการฉีดยาที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องเดินทางไปรับยาการฉีดยาที่โรงพยาบาลหรือใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการฉีดยาเท่านั้น สุดยอดไปเลยครับทีมวิจัยนี้!!!

อะตอมได้ชวนคุยต่อถึงแผนการพัฒนาเทคโนโลยีการนำส่งยาผ่านทางผิวหนังมนุษย์ของทีมวิจัยนี้ ปรากฏว่า ทางทีมวิจัย SPICE ได้มีแผนที่จะนำผลงานนี้ส่งขอการรับรองจากทางองค์การอาหารและยา (อย.) ในขั้นต่อไป นั่นแปลว่าอีกไม่นาน เราอาจจะเห็นแผ่นแปะนำส่งยาผ่านผิวหนังมนุษย์ที่คิดค้นโดยคนไทยและวางขายอยู่ในร้านขายยาใกล้บ้านคุณ!!!

ซึ่งผลงานชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Materials Science & Engineering C ปี 2021 (Q1: Impact factor = 5.044 อ้างอิงฐานข้อมูล Scopus ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2564) ในชื่อผลงาน “Electrically Controlled Transdermal Ibuprofen Delivery Consisting of Pectin-Bacterial Cellulose/Polypyrrole Hydrogel Composites” ???

#FSciResearchInnovation #KMUTT

 

ติดตามอ่านต่อได้ที่:  ??

https://www.facebook.com/111399760214350/posts/752535456100774/

Publication URL: ??

https://link.springer.com/article/10.1007/s10570-021-04259-x?fbclid=IwAR1X8eSB-sOZttac4cyDUiPFHfepErCnxrQtvt15HA0mHJLMVb4M6NkABQ8

สมัคร สล็อตออนไลน์ สล็อตxo ผู้ให้บริการ เว็บพนันออนไลน์ที่ดีที่สุด

เกมสล็อต SLOTXO สล็อตออนไลน์ ฝาก-ถอน รวดเร็ว แจ็คพอตแตก ใช้งานผ่านมือถือและเว็บไซต์
ทำไมต้อง สล็อตออนไลน์ กับ สล็อตxo เพราะเราคือผู้ให้บริการ เกมสล็อต ที่ดีที่สุด พร้อมกับโปรโมชั่นอีกมากมาย และระบบที่ทันสมัย มีตัวเกมให้เลือกเล่นอีกมากมาย ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ที่ตัดสินใจในการลงทุน หลายคนคงคุ้นเคยกับตู้เกมสล็อตมาบ้างแล้ว SLOTXO จะนำท่านไปสู่โลกของ เกมสล็อตอีกมากมาย ทั้งกราฟฟิต เสียง sound effect ที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกมากมายใน สล็อตxo

  1. เว็บพนันออนไลน์ อันดับ 1 ของเอเชีย
  2. สล็อตออนไลน์อันดับ1
  1. Online Casino India
  2. Best Aviator Game App In India
  3. Andar Bahar Online Game
  4. Casino App Real Money India
  5. Best Cricket Betting Sites In India
  6. Best Casino Game to Win Real Money
  7. Online Casino Games In India
  1. Slot Online Terpercaya
  2. Judi Slot Online Jackpot Terbesar
  3. Judi Slot Terpercaya
  4. Kumpulan Situs Judi QQ Online Terpercaya
  5. Situs Slot Deposit Pulsa dan Slot Online Terbaik
  6. Slot Hacker
  7. Situs Slot Online Terbaik
  8. Slot Gacor Gampang Menang
  9. Slot Online
  10. Situs Slot Online Terbaik 2022
  11. Slot RTP Pragmatic
  12. Situs Slot Gacor 2022