ประวัติคณะวิทยาศาสตร์ 

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อกำเนิดมาจากคณะวิชาสามัญในคณะครุศาสตร์ 

อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ให้บริการการสอนวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเป็นคณะวิทยาศาสตร์” ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2533 ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 146 ลงวันที่ 15 สิงหาคม2533 และได้รับการอนุมัติการแบ่งส่วนราชการตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 190 ลงวันที่ 27 กันยายน2533 คือ สำนักงานคณบดี ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาเคมี ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ และศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม 

2503 เป็นคณะวิชาสามัญ มีหน้าที่บริการการสอนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 

2514 เป็นสายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ 

2519 จัดตั้งภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาเคมี และเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ (มติสภา มจธ. ครั้งที่ 99 วันที่ 11 พฤษภาคม 2550 อนุมัติเปลี่ยนชื่อเป็น ฟิสิกส์ประยุกต์ เริ่ม 1/2550) และ 

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โดยเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ด้านวิชาวิทยาศาสตร์ควบคู่กับความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ 

2520 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีเพิ่ม 1 สาขา คือ สาขาวิชาเคมี 

2525 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีเพิ่ม 1 สาขา คือ สาขาวิชาจุลชีววิทยา 

2528 จัดตั้งภาควิชาจุลชีววิทยา และศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม 

2533 ได้รับการจัดตั้งเป็น คณะวิทยาศาสตร์ และเริ่มเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาแรกคือ สาขาวิชา 

คณิตศาสตร์ประยุต์ 

2536 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทเพิ่ม 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม และสาขาวิชาฟิสิกส์ 

2539 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทเพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์ 

2540 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีเพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 

2546 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ หลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ และหลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 

2547 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทเพิ่ม 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเคมีศึกษา และสาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา 

หลักสูตรระดับปริญญาเอกเพิ่ม 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาฟิสิกส์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 

2548 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีเพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ (มติสภา มจธ. ครั้งที่ 156 วันที่ 20 

เมษายน 2555 อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อเป็น สถิติ เริ่ม 1/2555) และระดับปริญญาเอกเพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขา 

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (ปิดหลักสูตรเมื่อปีการศึกษา 2554) 

2553 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทเพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเคมี 

2554 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอกเพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเคมี (เปิดรับภาคการศึกษา 2/2554) 

2560 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทเพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยีนาโน และหลักสูตรระดับปริญญาเอกเพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยีนาโน9 

2561 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทเพิ่ม 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา 

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนทั้งสิ้น 22 สาขาวิชา แบ่งเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 7 สาขาวิชา หลักสูตรระดับปริญญาโท 10 สาขาวิชา และหลักสูตรระดับปริญญาเอก 5 สาขาวิชา