King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT)

 

 

   

1 | 2

Previous Next

คณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค่าย I AM SCI ครั้งที่ 9

วันที่ 27-29 มกราคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. ได้จัดกิจกรรมโครงการค่าย I AM SCI ครั้งที่ 9 ประจำปี 2567 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักให้นักเรียนสนใจเรียนวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น รวมทั้งประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์ โดย รศ. ดร.ตุลา จูฑะรสก คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวต้อนรับนักเรียน ผู้ปกครองและกล่าวเปิดค่าย รวมทั้งกล่าวถึงความโดดเด่นของหลักสูตรการเรียนการสอนแต่ละสาขาวิชาของคณะวิทยาศาสตร์ และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ผู้เข้าค่ายจะได้รับตลอดระยะเวลาทั้ง 3 วัน ทั้งนี้ผู้บริหารและอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ได้ร่วมให้ความรู้ต่าง ๆ ดังนี้ “โอกาสการเรียนรู้ในต่างประเทศของนักศึกษา” โดย ผศ. ดร.นุจริน จงรุจา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนานาชาติและพัฒนาความเป็นสากล “การสร้างแรงบันดาลใจในเส้นทางอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” โดย ดร.รัชนิกร ชลไชยะ และ ผศ. ดร.วิทยา กาญจนภูษากิจ ซึ่งนักเรียนจะได้มีโอกาสศึกษาและลงมือทำโครงงานทางด้านวิทยาศาสตร์ในภาควิชาต่าง ๆ ทั้งภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาเคมี ภาควิชาจุลชีววิทยา และภาควิชาฟิสิกส์ โดยคาดหวังว่านักเรียนจะทราบความต้องการของตนเองในการวางแผนการศึกษาต่อในอนาคตและมีความรู้และเข้าใจในคณะวิทยาศาสตร์ มจธ. มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับความรู้จากอาจารย์แต่ละภาควิชาเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนแต่ละสาขาวิชา ในวันสุดท้าย ได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.เชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและผู้เรียนรู้ กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจนักเรียนนำเสนอโครงงาน และสอบสัมภาษณ์ โดย อาจารย์บุปผชาติ จันทร์สว่าง ที่ปรึกษาคณะทำงานโครงการค่ายฯ กล่าวแสดงความยินดีกับนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมค่ายและกล่าวปิดค่าย ในช่วงบ่ายมีการสอบสัมภาษณ์นักเรียนที่สนใจเข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2567 โดยมีผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์และอาจารย์จากภาควิชาร่วมต้อนรับ และร่วมสังเกตการณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตลอด 3 วัน 2 คืน ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน อบอุ่น และเป็นกันเอง

Previous Next

The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2024 ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ และ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) จัดอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาในสาขาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิศวกรรม ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชั้นปีที่ 1-4 ของคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม เพื่อให้มีความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานด้านอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2024 ลักษณะของโครงการเป็นการอบรมให้ความรู้ทางด้าน Soft skills  และ Hard skills จำนวน 9 ครั้งต่อเนื่อง นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิพิเศษในการสมัครเข้าทำงานกับองค์กรญี่ปุ่น

ที่เป็นสมาชิกของหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ เป็นกรณีพิเศษ และได้รับประกาศนียบัตรการเข้าร่วมโครงการจากหอการค้าญี่ปุ่นกรุงเทพฯ โดยหลังการอบรมจะมีการประกวดผลงานด้านนวัตกรรม ทีมที่ได้คะแนนในอันดับที่ 1 และ 2 ของแต่ละสถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะได้รับสิทธิ์เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศเพื่อรับทุนการศึกษาและทัศนศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นในรูปแบบ Educational Trip  สำหรับในครั้งนี้เป็นการอบรมในหัวข้อ Ope ning & Team Collaboration Workshop Presentation Skill โดย คุณเกสรา วลัญช์เดช วิทยากรที่ปรึกษาอิสระด้านการพัฒนาองค์กร โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ตุลา จูฑะรสก  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์  เป็นประธานเปิดโครงการฯ

Previous Next

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มจธ. คว้า 4 รางวัลในเวที Young Rising Stars of Science Award 2023

คณะวิทยาศาสตร์ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัล “Young Rising Stars of Science Award 2023” จากการนำเสนอผลงาน ในงาน The 49th International Congress on Science, Technology and Technology – based Innovation (STT49) ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา จัดโดย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในระหว่างวันที่ 23 - 25 มกราคม 2567 ดังนี้

  1. นางสาวสมัชญา สังค์น้อย และนายพิชัย เพิ่มสุข นักศึกษาภาควิชาเคมี ได้รับรางวัลเหรียญทอง สาขาเคมี ในหัวข้อ “COLORIMETRIC DETECTION OF CANNABINOIDS USING DNA APTAMER AND PYRROLIDINYL PEPTIDE NUCLEIC ACID WITH GOLD NANOPARTICLES” โดยมี ดร.กรกันยา ประทุมยศ และ ดร.ช่อลัดดา ศรีสุวรรณเกศ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
  2. นางสาวอรฑดา ปรีดาสวกุล นักศึกษาภาคคณิตศาสตร์ นักศึกษาภาควิชาคณิตศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง สาขาคอมพิวเตอร์ ในหัวข้อ “DEVELOPING A NEW CORRELATION-BASED FUZZY CLUSTER VALIDITY INDEX AND ITS SOFTWARE PACKAGE” โดยมี ผศ. ดร.ณรรฐคุณ วิรุฬห์ศรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
  3. นายชิษณุพงศ์ ตรีสุธรรมมาศ นายวรัชญ์ ประทีปสังคม และนายชาญวิทย์ มิ่งขวัญคีรี นักศึกษาภาควิชาคณิตศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน สาขาคอมพิวเตอร์ ในหัวข้อ “THAI FICTION GENRE CLASSIFICATION BASED ON ONLINE NAIVE BAYES MODEL” โดยมี ดร.วรินทร์ วัฒนพรพรหม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
  4. นายธนดล จิรกาญจนสิทธิ์ และนางสาวนาถลัดดา ชูเวทย์ นักศึกษาภาควิชาจุลชีววิทยา ได้รับรางวัลเหรียญเงิน สาขาชีววิทยา ในหัวข้อ “GENOMIC AND ANTIMICROBIAL CHARACTERIZATION OF BACTERIO-PRODUCING LACTIC BACTERIA” โดยมี ดร.สุกัญญา พึ่งจะแย้ม อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
Previous Next

คณะวิทยาศาสตร์จัดการประชุมผู้ปกครองเกี่ยวกับการวางแผนด้านการเรียนของนักศึกษา

เมื่อวันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ตุลา จูฑะรสก คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มจธ. กล่าวต้อนรับผู้ปกครองและเปิดการประชุม โดยมีผู้ปกครองและนักศึกษาเข้าร่วมประชุมหารือด้านการวางแผนการเรียนของนักศึกษาเป็นพิเศษ  ณ ห้อง SI214 อาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ (อาคาร N5)  การประชุมผู้ปกครองในครั้งนี้ได้มีการแนะนำการคิดคำนวณคะแนนเพื่อวางแผนการเรียนให้มีผลคะแนนที่ดีขึ้นโดยสำนักงานทะเบียนนักศึกษา มจธ. และการให้คำปรึกษากลุ่มย่อยแต่ละภาควิชาจากอาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปีของทุกภาควิชา ในการประชุมครั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์คาดหวังว่าจะเป็นแนวทางในการให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนแก่นักศึกษาให้สามารถปรับตัวด้านการเรียนและสามารถศึกษาต่อไปได้จนสำเร็จการศึกษา

Previous Next

คณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมอบรมการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ หัวข้อ “การเขียนสะท้อนเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนการสอน Reflective Account of Practice (RAP)”

ในวันจันทร์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567 คณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมอบรมการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ ภายใต้กรอบ KMUTT PSF – Learning and Teaching หัวข้อ “การเขียนสะท้อนเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนการสอน Reflective Account of Practice (RAP)” ณ ห้อง Sci Connect อาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ คณะวิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนแนวทางในการเขียนสะท้อนสมรรถนะให้สอดคล้องกับกรอบ KMUTT PSF และการเขียนสะท้อนเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนการสอน Reflective Account of Practice (RAP) ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวและประสบการณ์ให้เห็นที่มาที่ไปของตนเอง โดย ผศ. ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เป็นวิทยากรให้ความรู้พร้อมทั้งชวนคิดและแลกเปลี่ยนแนวทางการเขียนเล่าเรื่องราวและประสบการณ์การทำงาน รวมทั้งแนวทางการจัดการเรียนรู้ (Learning Approach) รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านสามารถใช้เป็นแนวทางในการเขียนสะท้อนสมรรถนะให้สอดคล้องกับกรอบ KMUTT PSF ด้านการเรียนการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ได้ โดยมี รศ. ดร.ปริญญา เสงี่ยมสุนทร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวเปิดการอบรม

สมัคร สล็อตออนไลน์ สล็อตxo ผู้ให้บริการ เว็บพนันออนไลน์ที่ดีที่สุด

เกมสล็อต SLOTXO สล็อตออนไลน์ ฝาก-ถอน รวดเร็ว แจ็คพอตแตก ใช้งานผ่านมือถือและเว็บไซต์
ทำไมต้อง สล็อตออนไลน์ กับ สล็อตxo เพราะเราคือผู้ให้บริการ เกมสล็อต ที่ดีที่สุด พร้อมกับโปรโมชั่นอีกมากมาย และระบบที่ทันสมัย มีตัวเกมให้เลือกเล่นอีกมากมาย ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ที่ตัดสินใจในการลงทุน หลายคนคงคุ้นเคยกับตู้เกมสล็อตมาบ้างแล้ว SLOTXO จะนำท่านไปสู่โลกของ เกมสล็อตอีกมากมาย ทั้งกราฟฟิต เสียง sound effect ที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกมากมายใน สล็อตxo

  1. เว็บพนันออนไลน์ อันดับ 1 ของเอเชีย
  2. สล็อตออนไลน์อันดับ1
  1. Online Casino India
  2. Best Aviator Game App In India
  3. Andar Bahar Online Game
  4. Casino App Real Money India
  5. Best Cricket Betting Sites In India
  6. Best Casino Game to Win Real Money
  7. Online Casino Games In India
  1. Slot Online Terpercaya
  2. Judi Slot Online Jackpot Terbesar
  3. Judi Slot Terpercaya
  4. Kumpulan Situs Judi QQ Online Terpercaya
  5. Situs Slot Deposit Pulsa dan Slot Online Terbaik
  6. Slot Hacker
  7. Situs Slot Online Terbaik
  8. Slot Gacor Gampang Menang
  9. Slot Online
  10. Situs Slot Online Terbaik 2022
  11. Slot RTP Pragmatic
  12. Situs Slot Gacor 2022