King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT)

 

 

   

1 | 2

Previous Next

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มจธ. คว้า 4 รางวัลในเวที Young Rising Stars of Science Award 2023

คณะวิทยาศาสตร์ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัล “Young Rising Stars of Science Award 2023” จากการนำเสนอผลงาน ในงาน The 49th International Congress on Science, Technology and Technology – based Innovation (STT49) ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา จัดโดย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในระหว่างวันที่ 23 - 25 มกราคม 2567 ดังนี้

  1. นางสาวสมัชญา สังค์น้อย และนายพิชัย เพิ่มสุข นักศึกษาภาควิชาเคมี ได้รับรางวัลเหรียญทอง สาขาเคมี ในหัวข้อ “COLORIMETRIC DETECTION OF CANNABINOIDS USING DNA APTAMER AND PYRROLIDINYL PEPTIDE NUCLEIC ACID WITH GOLD NANOPARTICLES” โดยมี ดร.กรกันยา ประทุมยศ และ ดร.ช่อลัดดา ศรีสุวรรณเกศ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
  2. นางสาวอรฑดา ปรีดาสวกุล นักศึกษาภาคคณิตศาสตร์ นักศึกษาภาควิชาคณิตศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง สาขาคอมพิวเตอร์ ในหัวข้อ “DEVELOPING A NEW CORRELATION-BASED FUZZY CLUSTER VALIDITY INDEX AND ITS SOFTWARE PACKAGE” โดยมี ผศ. ดร.ณรรฐคุณ วิรุฬห์ศรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
  3. นายชิษณุพงศ์ ตรีสุธรรมมาศ นายวรัชญ์ ประทีปสังคม และนายชาญวิทย์ มิ่งขวัญคีรี นักศึกษาภาควิชาคณิตศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน สาขาคอมพิวเตอร์ ในหัวข้อ “THAI FICTION GENRE CLASSIFICATION BASED ON ONLINE NAIVE BAYES MODEL” โดยมี ดร.วรินทร์ วัฒนพรพรหม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
  4. นายธนดล จิรกาญจนสิทธิ์ และนางสาวนาถลัดดา ชูเวทย์ นักศึกษาภาควิชาจุลชีววิทยา ได้รับรางวัลเหรียญเงิน สาขาชีววิทยา ในหัวข้อ “GENOMIC AND ANTIMICROBIAL CHARACTERIZATION OF BACTERIO-PRODUCING LACTIC BACTERIA” โดยมี ดร.สุกัญญา พึ่งจะแย้ม อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
Previous Next

คณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมอบรมการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ หัวข้อ “การเขียนสะท้อนเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนการสอน Reflective Account of Practice (RAP)”

ในวันจันทร์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567 คณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมอบรมการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ ภายใต้กรอบ KMUTT PSF – Learning and Teaching หัวข้อ “การเขียนสะท้อนเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนการสอน Reflective Account of Practice (RAP)” ณ ห้อง Sci Connect อาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ คณะวิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนแนวทางในการเขียนสะท้อนสมรรถนะให้สอดคล้องกับกรอบ KMUTT PSF และการเขียนสะท้อนเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนการสอน Reflective Account of Practice (RAP) ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวและประสบการณ์ให้เห็นที่มาที่ไปของตนเอง โดย ผศ. ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เป็นวิทยากรให้ความรู้พร้อมทั้งชวนคิดและแลกเปลี่ยนแนวทางการเขียนเล่าเรื่องราวและประสบการณ์การทำงาน รวมทั้งแนวทางการจัดการเรียนรู้ (Learning Approach) รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านสามารถใช้เป็นแนวทางในการเขียนสะท้อนสมรรถนะให้สอดคล้องกับกรอบ KMUTT PSF ด้านการเรียนการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ได้ โดยมี รศ. ดร.ปริญญา เสงี่ยมสุนทร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวเปิดการอบรม

Previous Next

ผู้แทนบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เข้าพบผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อมอบของสวัสดีปีใหม่และหารือความร่วมมือทางวิชาการ

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 คุณรพีชัย จินตเศรณี รองผู้อำนวยการฝ่ายสินไหมรถยนต์ คุณชนิดาภา สิริเธียรวงศ์ ผู้จัดการส่วนอาวุโส ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และคุณนวมินทร์ บำรุงเวช เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เข้าพบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตุลา จูฑะรสก คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหาร และคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ณ ห้องประชุม SCL 209 เพื่อมอบของสวัสดีปีใหม่ และหารือความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และบริษัททิพยประกันภัย ในการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน

Previous Next

คณะวิทยาศาสตร์จัดโครงการ FSci's Alumni Sharing ถ่ายทอดสิ่งดี ๆ จากพี่สู่น้อง หัวข้อ “เทคนิคการทำ Power Point นำเสนออย่างมืออาชีพ"

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 ฝ่ายพัฒนานักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

จัดโครงการ FSci's Alumni Sharing ถ่ายทอดสิ่งดี ๆ จากพี่สู่น้อง หัวข้อ “เทคนิคการทำ Power Point นำเสนออย่างมืออาชีพ"   โดย ดร.อภิวัฒน์ เพ็ชรสหาย นักบริหารจัดการเทคโนโลยีเชิงธุรกิจ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. เป็นวิทยากรให้ความรู้แนะนำเทคนิคสำคัญในการทำสไลด์เพื่อนำเสนองานด้วยโปรแกรม PowerPoint ให้ออกมาสวย อ่านง่าย สอดคล้องกับเนื้อหาและถูกใจผู้ฟัง อาทิ การจัดการข้อมูลเฉพาะส่วนที่จำเป็น แบ่งกลุ่มข้อมูลออกเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย เน้นประโยคที่สำคัญ หรือใส่เป็นเครื่องหมายต่าง ๆ (bullet) แล้วเน้นการพูดนำเสนอขยายแต่ละ bullet การทำข้อความ รูปภาพ ตารางและวัตถุอื่น ๆ ให้เป็นภาพเคลื่อนไหว (animations)  รูปแบบและขนาดตัวอักษรเน้นอ่านง่าย ใช้อักษรตัวหนาสำหรับหัวข้อหรือสิ่งที่ต้องการเน้น สีของตัวอักษรต้องโดดเด่นออกมาจากพื้นหลัง โดยเลือกใช้สีให้เหมาะสมมีความหมายหรือกำหนดสีเพื่อสร้างความเชื่อมโยงของทุก ๆ สไลด์เข้าด้วยกัน ซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงของการใช้สีคือไม่ควรใช้สีที่มีความสว่างมากเกินไป รวมทั้งการจัดตำแหน่งให้ข้อความ รูปภาพ หรือข้อมูลในรูปแบบของ Infographic ควรจัดลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยนักศึกษาและบุคลากรจำนวน 147 คน

Previous Next

คณะวิทยาศาสตร์จัดบรรยายหัวข้อ The Big Picture of Science Communication

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์จัดบรรยายสาธารณะหัวข้อ The Big Picture of Science Communication ณ ห้อง Science Connect อาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ โดย ดร.ชนินทร์ สุริยกุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกองสื่อสารวิทยาศาสตร์ ศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารวิทยาศาสตร์จากพื้นฐานสู่การออกแบบ ซึ่งการสื่อสารวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการถ่ายทอดเชื่อมโยงความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เผยแพร่สู่สาธารณะ มีเป้าหมายสร้างความนิยมวิทยาศาสตร์ เพิ่มทุนทางวิทยาศาสตร์ และสร้างความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบการสื่อสารแบบต่าง ๆ โดยทักษะสำคัญในการสื่อสารของนักวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย การฟังและจับใจความสำคัญให้ได้ การคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงกับสิ่งที่เป็นบริบทของผู้ฟังมีหลายวิธี เช่น การเปรียบเทียบหรือเทียบเคียง การยกตัวอย่าง การนำเสนอ การสร้างเรื่องหรือการเล่าเรื่อง (story telling) นำประเด็นมาขยายต่อให้เกิดความน่าสนใจแต่ไม่เกินจริง การใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะและเหมาะกับกลุ่มผู้ฟัง รวมทั้งบทบาทของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์คือการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะ สร้างความเข้าใจให้ถูกต้องกับสังคม สร้างทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ฟัง ซึ่งมีนักศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตุลา จูฑะรสก คณบดีคณะวิทยาศาสตร์กล่าวเปิดงาน สำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์ที่สนใจเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการประกวดนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1 ชิงเงินรางวัลมูลค่ากว่า 16,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 23 มกราคม 2567 ที่ลิงก์ https://forms.gle/x9AaVytXvCmZWjcW9

สมัคร สล็อตออนไลน์ สล็อตxo ผู้ให้บริการ เว็บพนันออนไลน์ที่ดีที่สุด

เกมสล็อต SLOTXO สล็อตออนไลน์ ฝาก-ถอน รวดเร็ว แจ็คพอตแตก ใช้งานผ่านมือถือและเว็บไซต์
ทำไมต้อง สล็อตออนไลน์ กับ สล็อตxo เพราะเราคือผู้ให้บริการ เกมสล็อต ที่ดีที่สุด พร้อมกับโปรโมชั่นอีกมากมาย และระบบที่ทันสมัย มีตัวเกมให้เลือกเล่นอีกมากมาย ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ที่ตัดสินใจในการลงทุน หลายคนคงคุ้นเคยกับตู้เกมสล็อตมาบ้างแล้ว SLOTXO จะนำท่านไปสู่โลกของ เกมสล็อตอีกมากมาย ทั้งกราฟฟิต เสียง sound effect ที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกมากมายใน สล็อตxo

  1. เว็บพนันออนไลน์ อันดับ 1 ของเอเชีย
  2. สล็อตออนไลน์อันดับ1
  1. Online Casino India
  2. Best Aviator Game App In India
  3. Andar Bahar Online Game
  4. Casino App Real Money India
  5. Best Cricket Betting Sites In India
  6. Best Casino Game to Win Real Money
  7. Online Casino Games In India
  1. Slot Online Terpercaya
  2. Judi Slot Online Jackpot Terbesar
  3. Judi Slot Terpercaya
  4. Kumpulan Situs Judi QQ Online Terpercaya
  5. Situs Slot Deposit Pulsa dan Slot Online Terbaik
  6. Slot Hacker
  7. Situs Slot Online Terbaik
  8. Slot Gacor Gampang Menang
  9. Slot Online
  10. Situs Slot Online Terbaik 2022
  11. Slot RTP Pragmatic
  12. Situs Slot Gacor 2022