คณะวิทยาศาสตร์แสดงความยินดีกับอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับทุนจากมูลนิธิกระจกอาซาฮี ประจำปี 2566



วันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ร่วมจัดแสดงผลงานในงาน Show & Share ครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ “Sustainable University through Digital Transformation ณ บริเวณชั้น 3 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (N16) มจธ. (บางมด) ซึ่งมีผลงานเข้าร่วม 3 ผลงาน ได้แก่ ระบบบัญชีเพื่อการบริหารจัดการโครงการเครดิตวิจัย โดย สำนักงานคณบดี การพัฒนาระบบจองใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการเครื่องมือฟิสิกส์ โดย ภาควิชาฟิสิกส์ และ ปรับปรุงรูปแบบการสอบสัมภาษณ์รับนักศึกษาตามระบบ TCAS ในยุคความปกติใหม่ โดย ภาควิชาจุลชีววิทยา ในการนี้ ผศ. ดร.ตุลา จูฑะรสก คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้ง ผศ. ดร.วันดี อ่อนเรียบร้อย หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์เข้าร่วมงาน
วันที่ 9 มิถุนายน 2566 สโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. ได้จัดพิธีปิดงานโครงการกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29 (ATOM GAMES) ในชื่อ“แกว๊กแกว๊กเกมส์” ณ โรงฝึกพละศึกษาอาคารพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ 190 ปี ได้กล่าวถึงแรงบันดาลใจการคิดชื่องานครั้งนี้มาจาก “น้องห่านรีจอยซ์” สัตว์ปีกสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยฯ ซึ่งทางเจ้าภาพมีวัตถุประสงค์ที่จะสื่อถึงความเป็นกันเอง มีความสนุกสนาน การได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนมิตรภาพ และการสร้างเครือข่ายอันดีต่อกันตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ในการร่วมแรงร่วมใจวางแผนและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร.ปริญญา เสงี่ยมสุนทร รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาความเป็นสากล มอบของที่ระลึกให้มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 11 มหาวิทยาลัย และ ผศ. ดร.นครินทร์ พัฒนบุญมี รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและบริการวิชาการ กล่าวขอบคุณผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา นิสิตนักศึกษา คณะทำงานที่ปรึกษา และผู้ให้การสนับสนุนการจัดโครงการฯ ให้เกิดขึ้นอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งกล่าวปิดโครงการฯ
เมื่อวันที่ 4 - 9 มิถุนายน 2566 สโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเจ้าภาพจัดโครงการกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29 (อะตอมเกมส์) ภายใต้ชื่องาน “แกว๊กแกว๊กเกมส์” ซึ่งโครงการฯ นี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Science and Innovation for Sustainable Society” โดยมีสถานศึกษาเข้าร่วม 12 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการจัดการแข่งขันกีฬา 6 ประเภท คือ ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล แบดมินตัน E-SPORTS - ROV และ PUBG Mobile และกรีฑา รวมทั้งมีการประกวดนวัตกรรม ภายใต้หัวข้อ “สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อสังคมผู้สูงอายุ (Health & Wellness for Ageing Society)” ในพิธีเปิดโครงการฯ มีการเดินขบวนและรับชมดนตรีโดยศิลปิน QLER ในวันที่ 6 มิถุนายน 2566 มีงานเทศกาลดนตรีแห่งคณะวิทยาศาสตร์ (ATOM MUSIC FESTIVAL) โดยวงดนตรีของมหาวิทยาลัย ได้แก่ GUAMS Weight POTATO และ DHAMMARAKSA และในพิธีปิดได้มีการสรุปโครงการพร้อมมอบถ้วยรางวัลให้กับสถาบันที่ชนะ ซึ่งสถาบันที่ได้รับถ้วยรางวัลกีฬารวม ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันที่ได้รับถ้วยรางวัลนวัตกรรม ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ส่วนเจ้าภาพงานอะตอมเกมส์ ครั้งที่ 30 (ROAD TO ATOM GAMES #30) ยังอยู่ในช่วงการพิจารณาและตัดสินใจ จึงขอเก็บธงอะตอมเกมส์ไว้ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. เพื่อรอส่งมอบให้สถาบันเจ้าภาพต่อไป
ในวันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้จัดการปฐมนิเทศโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) สาขาวิชาสะเต็มศึกษา รุ่นที่ 3 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น Zoom เพื่อให้ผู้เข้าศึกษาได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล รวมทั้งแนวทางต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าศึกษาในหลักสูตร ได้แก่ รายละเอียดของแต่ละโมดูล ตารางสอน และช่องทางการติดต่อสื่อสาร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตุลา จูฑะรสก คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งผู้บริหาร คณาจารย์ และคุณครูเข้าร่วม 30 คน